ไดโอด (Diode)

20 Jun 2016

Share to:

ไดโอด (Diode)

ไดโอด เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทํามาจากสารกึ่งตัวนําชนิด p-n ซึ่งมีคุณสมบัติคือ ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้เพียงทิศทางเดียว

ไดโอด ประกอบด้วยขั้วสองขั้วคือ แอโหนด(Anode ; A) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด p และแคโธด(Cathode ; K) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด n

Image

สัญลักษณ์ไดโอด

ไดโอดในทางอุดมคติ (Ideal Diode)

ไดโอดในอุดมคติมีลักษณะเหมือนสวิทช์ที่สามารถนำกระแสไหลผ่านได้ในทิศทางเดียว

ไดโอดในทางปฏิบัติ (Practical Diode)

ไดโอดในทางปฏิบัติมีการแพร่กระจายของพาหะส่วนน้อยที่บริเวณรอยต่ออยู่จำนวนหนึ่ง ดังนั้น ถ้าต่อไบอัสตรงให้กับไดโอดในทางปฏิบัติก็จะเกิด แรงดันเสมือน (Ge >= 0.3V ; Si >= 0.7V ) ซึ่งต้านแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายเพื่อการไบอัสตรง

Image

ไดโอด ขนาดของแรงดันเสมือนจึงเป็นตัวบอกจุดทำงาน ดังนั้น จึงเรียก แรงดันเสมือน อีกอย่างหนึ่งว่า แรงดันในการเปิด (Turn-on Voltage ; Vt ) กรณีไบอัสกลับ เราทราบว่า Depletion Region จะขยายกว้างขึ้น แต่ก็ยังมีพาหะข้างน้อยแพร่กระจายที่รอยต่ออยู่จำนวนหนึ่ง แต่ก็ยังมีกระแสรั่วไหลอยู่จำนวนหนึ่ง เรียกว่า กระแสรั่วไหล (Leakage Current) เมื่อเพิ่มแรงดันไฟฟ้าขึ้นเรื่อยๆ กระแสรั่วไหลจะเพิ่มขึ้นจนถึงจุดทีไดโอดนำกระแสเพิ่มขึ้นมาก ระดับกระแสที่จุดนี้ เรียกว่า กระแสอิ่มตัวย้อนกลับ (Reverse Saturation Current ; Is ) แรงดันไฟฟ้าที่จุดนี้ เรียกว่า แรงดันพังทลาย (Breakdown Voltage) และถ้าแรงดันไบกลับสูงขึ้นจนถึงจุดสูงสุดที่ไดโอดทนได้ เราเรียกว่า แรงดันพังทลายซีเนอร์ (Zener Breakdown Voltage ; Vz) ถ้าแรงดันไบอัสกลับสูงกว่า Vz จะเกิดความร้อนอย่างมากที่รอยต่อของไดโอด ส่งผลให้ไดโอดเสียหายหรือพังได้ แรงดันไฟฟ้าที่จุดนี้เราเรียกว่า แรงดันพังทลายอวาแลนซ์ (Avalance Breakdown Voltage) ดังนั้น การนำไดโอดไปใช้งานจึงใช้กับการไบอัสตรงเท่านั้น

Suggestion blogs

ซ่อน Startup console ของ raspberry pi

ปกติเวลาเปิดเครื่องขึ้นมาจะมีหน้าจอ console ของระบบขึ้นมาพร้อมกับ logo ของ raspberry pi

vb.net excel database ด้วย OleDb

ในบทความนี้จะมาพูดถึงเรื่องการทํางานกับ file Excel ด้วย VB.NET โดยจะสามารถเข้าถึงข้อมูล แก้ไขข้อมูล และเพิ่มข้อมูล ด้วยคําสั่ง SQL เหมือนกับเป็น Database ตัวนึง ซึ่งการใช้งานจะต้องใช้ libraries ที่ชื่อว่า OleDb ใน Virtual Studio จะมีให้อยู่แล้ววิธีการใช้งานจะแบ่งเป็นสองแบบดังนี้การใช้งานโดยไม่ต้องการผลลัพธ์ของข้อมูลเช่น insert, update, deleteการใช้งานโดยต้องการผลลัพธ์ของข้อมูลเช่น Query ข้อมูลจาก Excel(คําสั่ง Select)

ซีเนอร์ไดโอด (ZENER DIODE)

ซีเนอร์ไดโอด (ZENER DIODE)ซีเนอรร์ไดโอด เป็นไดโอดชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างเหมือนไอโอด คือมีสารกึ่งตัวนําชนิด P และ N มีขาสองขาเช่นเดียวกัน A และ K ความแตกต่างของ ซีเนอร์ไอโอด กับ ไดโอดธรรมดาคือ กระบวนการผลิตซีเนอร์ไอโอด จะเติมสารเจือปนลงไปในธาตุซิลิกอนมีจำนวนน้อยและจำนวนมากกว่าปรกติ พร้อมกับขบวนการผลิตเฉพาะ จึงได้ซีเนอร์ไดโอดขึ้นมาใช้งาน


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.39.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ