เริ่มต้นใช้งาน NodeMcu ESP8266 ด้วย Arduino IDE

5 Aug 2016

Share to:

ในบทความที่แล้วเราได้ทําความรู้จักกับ ESP8266 กันแล้ว ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการใช้งาน ESP8266 ด้วย Arduino IDE โดยจะใช้ ภาษา c/c++ ในการเขียนโปรแกรม

ผมจะยกตัวอย่างการเพิ่มบอร์ด ESP8266 ใน Arduno IED และการเขียนโปรแกรมไฟกระพริบ โดยเครื่องมือที่ต้องใช้คือ

  • NodeMcu(ESP8266) ESP-12e
  • Arduino IDE

เริ่มแรกเปิดโปรแกรม Arduino IED และเลือกเมนู File—>Preferenes

Image

blink-led ในหน้าต่าง Preferences หัวข้อ additional Boards Manager URLs: ให้ใส่ “http://arduino.esp8266.com/stable/package\_esp8266com\_index.json” แล้วกดปุ่ม “ตกลง” ตามรูปด้านล่าง

Image

blink-led เลือกเมนู Tools—>Board:“xxxxx”—>Boards Manager…

Image

blink-led ในหน้าต่าง Boards Manager เลือก Type เป็น Contributed(หมายเลข 1) แล้วกด install esp8266 by ESP8266 Community

Image

blink-led รอจนติดตั้งเสร็จสิ้น

Image

blink-led ปิดโปรแกรม Arduino IDE แล้วเปิดขึ้นมาใหม่ จะเห็นวามี Board ESP8266 เพิ่มขึ้นมา ให้เลือกตาม Board ที่เราต้องการใช้งาน

Image

blink-led เสร็จสิ้นการติดตั้ง Board ESP8266 ต่อมาเรามาเขียนโปรแกรมแรกกัน คือโปรแกรม ไฟกระพริบ(Blink LED) เริ่มแรก เสียบ NodeMcu เข้ากับ Computer

Image

blink-led เข้าโปรแกรม Arduino IDE แล้วเปิดตัวอย่างโปรแกรมโดยเข้าที่ File—>Examples—>esp8266—>Blink

Image

blink-led จะพบกับตัวอย่าง Code ให้เรา compile(หมายเลข 1) แล้วโปรแกรมลง ESP8266(หมายเลข 2) ได้เลยครับ

Image

blink-led เมื่อโปรแกรมลง ESP8266 เสร็จแล้ว ไฟ LED บน board จะกระพริบ ดูวีดีโอตัวอย่างผลลัพธ์

Suggestion blogs

เริ่มต้นใช้ Docker Swarm

ในบทความที่แล้ว (Docker Swarm คืออะไร) ผมได้อธิบายไปแล้วว่า Docker Swarm คืออะไร และการใช้งานแบบคร่าวๆ สําหรับในบทความนี้ผมจะมาทดลองให้ดูว่าเมื่อนํา Docker Swarm มาใช้งานแล้วจะเป็นอย่างไรบ้าง ก่อนอื่นมาดูกันก่อนว่าคําสั่งพื้นฐานของ Docker Swarm ที่จะต้องใช้มีอะไรบ้าง

Go EP.4 Syntax ของภาษา Go

สวัสดีครับ ในบทความนี้ก็เป็น EP.4 แล้วนะครับ โดยเนื้อหาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Syntax ของภาษา Go ว่าภาษา Go มีรูปแบบการเขียนเป็นอย่างไร แต่ละคําสั่งใช้อย่างไรสําหรับท่านใดที่ยังไม่ได้อ่าน EP.3 ท่านสามารถกลับไปอ่านก่อนได้นะครับที่นี่ Go EP.3 Go packages คืออะไรมาเริ่มเรียนรู้ไปด้วยกันตามหัวข้อด้านล่างเลยครับ

[ภาษาซี] การแปลงชนิดข้อมูล

จากในบทความก่อนหน้านี้ นิพจน์จะเป็นชนิดข้อมูลประเภทเดียวกันทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงแล้วนิพจน์สามารถประกอบด้วยข้อมูลชนิดที่แตกต่างกันได้ เราจะเรียกว่า mixed type expression แต่หลักการของโอเปอเรเตอร์นั้น โอเปแรนด์ที่จะนํามาดําเนินการด้วยโอเปอเรเตอร์จะต้องมีชนิดข้อมูลที่เหมือนกัน ภาษาซีจึงมีกฎที่จัดการนิพจน์เหล่านี้อยู่ 2 ประเภท คือ implicit type conversion และ explicit type conversion


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.39.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ