swap memory ใน ubuntu

20 Dec 2015

Share to:

swap คือ file ประเภทหนึ่งที่ทําหน้าที่คลาย ram โดยจะต่างจาก ram ตรงที่ เป็นไฟล์ที่ถูกเขียนบน HDD ซึ่งจะมีความเร็วน้อยกว่า ram ในกรณีที่ ram ไม่พอ เราสามารถสร้าง swap มาใช้เป็น ram สํารองได้

วิธีการสร้าง swap ใน ubuntu

ขั้นตอนแรกจะต้องสร้าง swap file ชื่อว่า “swapfile” ไว้ใน ”/“(root directory) โดยกําหนดขนาด 4GB สร้างด้วยคําสั่ง

sudo fallocate -l 4G /swapfile

สามารถเชคไฟล์ที่สร้างขึ้นมา ได้ด้วยคําสั่ง

ls -lh /swapfile

จะได้ออกมาประมาณนี้

-rw-r--r-- 1 root root 4.0G Apr 28 17:19 /swapfile

เมื่อสร้าง swap file แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ Enabling the Swap File ด้วยคําสั่ง

sudo chmod 600 /swapfile

ต่อด้วยคําสั่ง

sudo mkswap /swapfile

และคําสั่ง

sudo swapon /swapfile

คําสั่งในการตรวจสอบ  Enabling the Swap File หรือยัง

free -m

จะแสดงผล swap ออกมา

Image

ตอนนี้ swap ทํางานแล้ว แต่เมื่อใดที่เครื่องถูกปิด หรือ restart ขึ้นมา file swap จะไม่ถูก enable ให้ ถ้าต้องการจะให้ enable ทุกครั้งที่เปิดเครื่องวิธีคือ แก้ไขไฟล์ “/etc/fstab” ด้วยคําสั่ง

sudo nano /etc/fstab

แล้วเพิ่มคําสั่งนี้ที่ท้ายบรรทัด

/swapfile   none    swap    sw    0   0

แล้ว save file เท่านี้ก็เสร็จสิ้นการสร้าง  swap ครับ ต่อมาเราจะกําหนดโอกาศที่ระบบจะมาใช้ swap โดยจะกําหนดเป็น % ค่า default คือ 60 โดยทั่วไปจะกําหนดเป็น 10 วิธีเปลี่ยนคือ แก้ไขไฟล์ “/etc/sysctl.conf” ด้วยคําสั่ง

sudo nano /etc/sysctl.conf

เพิ่มคําสั่งนี้ที่ท้ายของบรรทัด

vm.swappiness=10

save file เสร็จสิ้นการ config swap memory ใน ubuntu :)

Suggestion blogs

วิธี config ip ใน linux

วิธี config ip ใน linuxเริ่มต้นด้วยการเปิดไฟล์ config ด้วยคําสั่ง

การใช้งาน putty เบื้องต้น

Putty คืออะไร?Putty เป็นโปรแกรม Remote Server หรือ SSH ( Secure Shell ) พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ เราสามารถใช้โปรแกรมนี้ในการ สั่งงาน Server ด้วย command line โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้เชื่อมต่อไปยัง server ที่เป็น linux รองรับการเชื่อมต่อหลากหลายรูปแบบดังนี้

Arduino ตอน6 Serial interface ใน Arduino

Serial เป็นรูปแบบการสื่อสารแบบ Asynchronous ชนิดหนึ่งที่ Arduino นํามาใช้ในการสื่อสารกับ Device อื่นๆ เช่น Computer, Arduino, Module Sensor ต่างๆ หรืออุปกรณ์อะไรก็ตามที่รองรับการส่งข้อมูลแบบ Serial สําหรับข้อมูลเพิ่มเติมของการสือสารแบบ Serial อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบนความนี้ครับ TTL UART RS232 คืออะไร


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.39.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ