ชอบเล่นควิช หรือเกมส์ทายต่างๆในเฟสบุค ควรอ่าน!

10 Nov 2018

Share to:

ใครที่ชอบเล่นควิช หรือเกมส์ทายต่างๆในเฟสบุค คุณอาจจะมองว่าเป็นแค่เรื่องเล็กน้อย เล่นสนุกๆ แต่คุณกําลังมีความเสี่ยงที่จะเสียความเป็นส่วนตัวของคุณไป ข้อมูลส่วนตัวของคุณอาจไปตกอยู่ในมือของใครก็ไม่รู้ ที่ผมสนใจก็คือ App พวกนี้มีการร้องขอ Permission(สิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล) ของรูปภาพที่คุณอัพโหลดขึ้นไปทั้งหมดบนเฟสบุคของคุณ ผมยํ้าว่าทั้งหมดนะครับ รวมถึงภาพที่เป็น Private และภาพที่คุณถูก Tag ด้วย นั่นหมายความว่าคุณกําลังอนุญาติให้ใครก็ไม่รู้(เจ้าของ App ควิช) มาเข้าถึง หรือ Download รูปส่วนตัวของคุณได้

ถ้ายังนึกไม่ออกลองทําตามผมดูครับ ในตอนแรกที่เราเข้าไปเล่นตัว App จะให้เรา Login ด้วย Facebook เพื่อขอสิทธิ์ การเข้าถึงข้อมูลดังรูปตอไปนี้ รูปนี้กดปุ่มเพื่อ Login

Image

ต่อไป App จะมีการร้องขอ Permission(สิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล) แล้วให้เรากดยอมรับ ปกติเราก็กดๆไป ไม่ได้สนใจ

Image

อย่าเพิ่งกด Continue ให้กดตรงที่ลูกษรสีแดงดูก่อนครับ ระบบจะแสดงรายการของข้อมูลที่จะยิยอมให้ App นี้มาดึงข้อมูลไป ตามรูปด้านล่างครับ จะเห็นว่า App นี้สามารถเข้าถึงรูปภาพของผมได้ทั้งหมด 1,064 รูปที่ผมอัพโหลดขึ้นไปบนเฟสบุค และรูปที่ผมถูก Tag ด้วย

Image

แต่เราสามารถเลือกได้ว่าจะยินยอมหรือไม่โดย ถ้าไม่ยิมยอมให้เข้าถึงข้อมูลของเราได้ก็เอาเครื่องหมายถูกสีฟ้าๆด้านหลังออก ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าใครไม่ซีเรียดในเรื่องความเป็นส่วนตัวก็ไม่ต้องกลัว กดยินยอมไปโลด ถ้าเรากดยินยอมไปแล้วละจะทําอย่างไร? ไม่ต้องกลัวครับไปยกเลิกได้ด้วยวิธีนี้เลย เข้าไปที่ Setting

Image

กดที่เมนู Apps

Image

ไปที่ App ที่ต้องการจะลบออก แล้วกด X ได้เลยครับ

Image

เท่านี้ App นั้นก็จะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของเราได้อีก ผมทําวีดีโอที่แสดงให้เห็นว่า App เข้าขึงข้อมูลของเราได้อย่างไร รับชมได้เลยครับ

สรุปคือ เวลาที่เราไปเล่นเกมส์ หรือเชื่อมต่อ App ใดๆเข้ากับเฟสบุค เราควรกดดูนิดนึงครับว่าเค้าเอาข้อมูลอะไรของเราไปบ้างครับ ***บทความนี้ทําขึ้นเพื่อนําเสนอข้อมูลการทํางานของระบบ login และยอมรับสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเฟสบุค เพื่อให้ผู้อ่านใช้งานอย่างเข้าใจมากขึ้นเท่านั้น

Suggestion blogs

Bun คืออะไร?

สวัสดีครับ ในบทความนี้เราจะมาทําความรู้จัก Bun กันนะครับ สำหรับตอนนี้ Bun ได้ออก Version 1.0 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Go EP.4 Syntax ของภาษา Go

สวัสดีครับ ในบทความนี้ก็เป็น EP.4 แล้วนะครับ โดยเนื้อหาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Syntax ของภาษา Go ว่าภาษา Go มีรูปแบบการเขียนเป็นอย่างไร แต่ละคําสั่งใช้อย่างไรสําหรับท่านใดที่ยังไม่ได้อ่าน EP.3 ท่านสามารถกลับไปอ่านก่อนได้นะครับที่นี่ Go EP.3 Go packages คืออะไรมาเริ่มเรียนรู้ไปด้วยกันตามหัวข้อด้านล่างเลยครับ

Unicode

Unicode คือ รหัสข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ที่ใช้แทนอักขระ สามารถใช้แทนตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ต่างๆ ได้มากกว่า ASCII ซึ่งแทนอักขระได้แค่ 256 ตัวเท่านั้น(1Byte) Unicode สามารถใช้แทนตัวอักษร จากภาษาทั้งหมดทั่วโลก 24 ภาษา


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.39.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ