Stateless Component ใน React

10 Feb 2018

Share to:

สวัสดีครับ บทความนี้จะเกี่ยวกับ การสร้างและใช้งาน Stateless Component ใน React ซึ่งเป็นการสร้าง Component อีกรูปแบบหนึ่ง ที่ภายใน Component จะไม่มี State

ในบาง  Component ที่เราสร้างขึ้นมาใช้งานไม่จําเป็นจะต้องใช้ State อาจเป็นเพียง Component ที่รับข้อมูลเข้ามาแล้วแสดงผลเพียงอย่างเดียว จึงไม่จําเป็นต้องสร้าง Component แบบเดิมที่จะต้อง Extends React.Component ทําให้เวลาที่เราใช้งานก็จะมี Life Cycle ต่างๆ ของ React มาด้วย วิธีการสร้าง Stateless Component ง่ายๆก็คือสร้าง Function ขึ้นมาเท่านั้นเอง ตามตัวอย่างนี้

function myName(props) {
  return <h1>My name is {props.name}</h1>
}

Function ด้านบนจะรับค่า Props เข้ามา แล้ว Return JSX ออกไป มาดูตัวอย่างการใช้งานกัน เราจะสร้าง Stateless Component โดยสร้างไฟล์ชื่อว่า myname.js แล้วก็ใส่ Code นี้ลงไป

import React from 'react'

function header(props) {
    return (
        <div>
            <h1>{props.msg}</h1>
        </div>
    )
}

export default header

หรือจะเขียนเทห์ๆ แบบ ES6 จะได้แบบนี้

import React from 'react'

const header = ({ msg }) => (
    <div>
        <h1>{msg}</h1>
    </div>
)

export default header

เวลานํา Component ไปใช้งาน ก็ Import เข้ามาใช้เหมือน Component ทั่วไปได้เลย

<Header msg="My header" />

ลองเอาไปใส่ใน App.js

Image

ลองรันดูจะได้หน้าตาแบบนี้

Image

ข้อดีของ Stateless Component

  • ไม่ต้องใช้ this (ไม่ต้อง bind ใน Constructor) แล้ว เช่น this.props.name ก็ใช้ props.name ได้เลย หรือ {onClikc={handleClikc}
  • ไม่ต้อง extends Class ให้ยุ่งยาก

Suggestion blogs

|| และ ?? ใน JavaScript แตกต่างกันอย่างไร

สวัสดีครับ บทความนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้งาน || และ ?? ในภาษา JavaScript ครับ ซึ่งการใช้งานโดยทั่วไปจะมีความคล้ายๆกัน แต่จะมีรายละเอียดเล็กน้อยที่มีความต่างกัน ถ้าเราไม่ทราบอาจจะทําให้ Code ที่เราเขียนมี Bug ได้

[ภาษาซี] การแปลงชนิดข้อมูล

จากในบทความก่อนหน้านี้ นิพจน์จะเป็นชนิดข้อมูลประเภทเดียวกันทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงแล้วนิพจน์สามารถประกอบด้วยข้อมูลชนิดที่แตกต่างกันได้ เราจะเรียกว่า mixed type expression แต่หลักการของโอเปอเรเตอร์นั้น โอเปแรนด์ที่จะนํามาดําเนินการด้วยโอเปอเรเตอร์จะต้องมีชนิดข้อมูลที่เหมือนกัน ภาษาซีจึงมีกฎที่จัดการนิพจน์เหล่านี้อยู่ 2 ประเภท คือ implicit type conversion และ explicit type conversion

Git Repository คืออะไร

สวัสดีครับ บทความนี้เราจะมาทําความรู้จักกับ Git Repository กันนะครับ ว่าคืออะไรมีความหมายว่าอะไร


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.39.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ