การอ่านค่าความจุของตัวเก็บประจุ Capacitor

2 Dec 2017

Share to:

ปัจจุบันตัวเก็บประจุถูกผลิตออกมามากมายหลายแบบ ประเภทของตัวเก็บประจุที่พบส่วนใหญ่มีดังนี้

  • Tantalum electrolytic capacitors
  • Ceramic capacitors
  • Silver mica capacitors
  • Mylar capacitors
  • Bipolar capacitors
  • Electrolytic capacitors [gallery columns=“2” ids=“1876,1877,1878,1879,1872,1875”] การระบุค่าความจุก็แตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่แล้วรูปแบบการระบุค่าความจุของตัวเก็บประจุ 3 แบบ
  1. บอกเป็นตัวเลขค่าความจุ
  2. บอกเป็นรหัสตัวเลข
  3. บอกเป็นแถบสี

การอ่านความความจุแบบ บอกตัวเลขค่าความจุ

ตัวเก็บประจุประเภทนี้โดยสุ่นใหญ่จะมีค่าความจุสูงๆ ที่ตัวถังจะบอกค่าความจุและ ทนแรงดันไฟสูงสุด

Image

การอ่านค่าความจุของตัวเก็บประจุแบบระบุค่าความจุ จากรูป อ่านค่าได้ 1000 uF(micro farad)

การอ่านความความจุแบบ รหัสตัวเลข

Image

การอ่านค่าความจุของตัวเก็บประจุแบบบอกรหัสตัวเลข ตัวเก็บประจุประเภทนี้จะระบุค่าความจุเป็นรหัสตัวเลข ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นตัวเก็บประจุที่มีค่าน้อยๆ วิธีการอ่านตามรูปด้านล่างครับ

Image

การอ่านค่าความจุของตัวเก็บประจุแบบบอกรหัสตัวเลข ตารางค่าความผิดพลาด และอัตราทนแรงดันตัวเก็บประจุ

Image

ตารางค่าความผิดพลาด-อัตราทนแรงดันตัวเก็บประจุ

Image

ตัวอย่างวิธีการอ่านรหัส 102K คือ หลักที่ 1 คือ ตัวเลข 1 หลักที่ 2 คือ ตัวเลข 0 หลักที่ 3 คือ 100(10ยกกำลัง 2) หลักที่ 4 คือ K หมายความว่า ความผิดพลาด +-10% ค่าความจุคือ |-> (หลักที่ 1 ต่อกับหลักที่ 2) x หลักที่ 3 |-> (10) x 100 |-> 1,000  (pF) หรือ 0.001 uF +-10%

การอ่านความความจุแบบ บอกเป็นแถบสี

Image

การอ่านค่าความจุของตัวเก็บประจุแบบบอกแถบสี วิธีการอ่านจะคล้ายๆกับ การอ่านค่าตัวต้านทาน ตัวอย่างการอ่านดังนี้

เหลือง  จะเป็นตัวตั้งหลักที่หนึ่ง มีค่า 4

ม่วง       จะเป็นตัวตั้งหลักที่สอง มีค่า 7

เหลือง  จะเป็นตัวคูณ มีค่า     x10000

ขาว       จะเป็นเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาด มีค่า 10 %

แดง       จะเป็นอัตราทนแรงดันไฟฟ้า มีค่า 200 V

ดังนั้นสามารถอ่านได้

470000 pF หรือ 0.47 uF

Suggestion blogs

Setting wifi raspberry pi ด้วย command line

การ setting wifi ของ raspberry pi มีวิธีดังนี้ เริ่มแรก scan wifi ก่อนเพื่อดูว่า มี wifi ตัวไหนที่สามารถเชื่อมต่อได้บ้าง ด้วยคําสั่งนี้

HTTP status codes

error code หรือ status code ที่ server ส่งกลับมาเมื่อเราเปิดเว็บ จะมีความหมายดังนี้

ESP8266 คืออะไร?

ESP8266 คืออะไร?ESP8266 คือ โมดูล wifi ภายในมีเฟิร์มแวร์ทํางานในลักษณะ Serial-to-WiFi ที่ช่วยให้อุปกรณ์อื่นๆ เช่น MCU สามารถต่อเข้ากับ internet ได้โดยใช้ port serial(ขา Tx, ขา Rx) และใช้คําสั่ง AT ในการควบคุมการทํางาน ต่อมาผู้พัฒนาได้พัฒนาเฟิร์มแวร์ NodeMcu ให้เป็น platform และใช้ภาษา LUA ในการเขียนโปรแกรม ด้วยความที่เป็น platform ที่สะดวกต่อการใช้งาน ทางผู้พัฒนาจึงจับ NodeMcu(ESP8266) ใส่เป็นบอร์ดหนึ่งใน Arduino IDE ด้วยซะเลย และได้พัฒนาให้สามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C/C++ สำหรับใครที่ใช้งาน Arduino อยู่แล้วสามารถใช้งานบน Arduino IDE ได้อย่างไม่อยากครับ


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.39.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ