Singleton pattern

29 Aug 2016

Share to:

Singleton pattern เป็น Design pattern ที่ใช้จํากัดจํานวนของอ็อบเจกต์ที่ถูกสร้างในขณะที่โปรแกรมทํางาน จะมีประโยชน์ในกรณีที่ระบบงานต้องการบังคับให้มีแค่อ็อบเจกต์เดียวเพื่อไม่ให้เกิดการซํ้าซ้อนกันเช่น Class ที่ใช้ในการควบคุม Hardware 1 ตัว ในการควบคุม Hardware 1 ตัวถ้าสร้างอ็อบเจกต์เพื่อควบคุมขึ้นมาหลายตัวอาจจะทําให้เกิดปัญหาในการควบคุม Hardware ได้

การนํา Singleton pattern ไปใช้งาน

Singleton pattern จะถูกสร้างโดยการเขียน Class ให้ซ่อน Constructor ของ Class ทั้งหมด คือให้ Constructor ทั้งหมด เป็น private เพื่อไม่ให้ Class นี้ถูกสร้างได้จาก Class อื่นๆ หลังจากนั้นให้เราสร้าง Method ที่ทําหน้าที่สร้างอ็อบเจกต์ของ Class นี้ โดยภายใน Method นี้จะ Check ด้วยว่าถ้าอ็อบเจกต์ถูกสร้างขึ้นมาแล้วจะไม่สร้างอีกแต่จะ Return อ็อบเจกต์ที่ม่อยู่แล้วออกไปทันที ข้อควรระวังในการใช้ Singleton pattern คือการใช้งานกับ multi-threading อาจจะเกิดปัญหาได้ในกรณีที่ thread แต่ละ thread พยายามเรียก Method เพื่อสร้างอ็อบเจกต์ครั้งแรก ในเวลาเดียวกัน อาจจะทําให้เกิดอ็อปเจกต์ขึ้นมามากกว่า 1 ตัว ป้องกันโดยอนุญาตให้เพียงหนึ่ง thread เรียกเมธอดได้ในขณะใดขณะหนึ่ง

ตัวอย่างในภาษา C#

using System;
using System.Collections.Generic;
using System.Linq;
using System.Text;
using System.Threading.Tasks;

namespace SingletonExample {
    class Program {
        static void Main(string[] args) {
            singletonClass obj = singletonClass.getInstance();
            Console.WriteLine(obj != null);
            Console.ReadKey();
        }
    }

    public class singletonClass{

        //สร้างตัวแปรสําหรับเก็บ Object ของ class
        private static singletonClass _instance = null;

        //ให้ constructor เป็น private เพื่อทําให้ไม่สามารถสร้าง Object ได้
        private singletonClass() { }

        //Function สําหรับสร้าง Object และ return ออกไป
        //ในกรณีที่มีแล้วให้ return ออกไปเลย
        public static singletonClass getInstance() {

            if (_instance == null) {
                _instance = new singletonClass();
            }

            return _instance;
        }

    }

}

จากตัวอย่าง  class จะมี Method และตัวแปร ที่เป็น static ไว้สําหรับเก็บและ get ค่าของอ็อบเจกต์ เวลาเรียกใช้งาน class ก็ไม่ต้องสร้างอ๊อบเจกต์ สามารถเรียกผ่าน Static Method ได้เลย Download source code

Suggestion blogs

Touchscreen calibration raspberry pi

วิธี calibration จอ touchscreen raspberry piในบทความนี้ จะอธิบายเกี่ยวกับการ calibration จอ touchscreen ของ raspberry pi โดยจอ touchscreen ที่ใช้คือ Raspberry Pi 7" Touchscreen Display มาเริ่มกันเลยครับ

ใช้ Docker volume อย่างไรให้ยกเว้น Sub folder

สวัสดีครับ เมื่อเรา Map volume ของ Folder บน Local เข้ากับ Folder บน Container แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ Folder บน Container จะถูกแทนที่ด้วย Folder บน Local บางครั้งเราอยากจะยกเว้น บาง Sub folder บน Container ไม่ต้องการให้ถูกเขียนทับด้วย Sub folder ของ Local เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น มาดูกรณีศึกษานี้กันครับ

การอ่านสิทธิ์เข้าใช้งาน file, Directory ใน ubuntu

ระบบ File และ Directory ใน Ubuntu จะมีการกําหนดสิทธิ์การ Read, Write และ Execute ของ User โดยจะสามารถดูได้จากคําสั่งนี้ls -lจะได้ออกมาตามรูปด้านล่างImageจากรูปจะแสดงผลออกมาเป็นข้อมูลต่างๆ แต่ในบทความนี้เราจะสนใจแค่ 2 คอลัมน์ คือในกรอบสีแดง และสีเขียว รายละเอียดมีดังนี้


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.39.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ