[ภาษาซี] อาร์เรย์ 1 มิติ

4 Jan 2018

Share to:

อาร์เรย์เปรียบเสมือนช่องสีเหลี่ยมมาเรียงต่อๆกันเป็นแถวยาว โดยแต่ละช่องจะเป็นที่สําหรับเก็บข้อมูล จํานวนของช่องที่มาเรียงต่อกันก็คือขนาดของอาร์เรย์ ในแต่ละช่องจะเป็นที่ข้อมูลได้ 1 ตัวตามชนิดของอาร์เรย์ที่ประกาศไว้

Image

การประกาศอาร์เรย์ควรประกาศให้พอดีกับความต้องการ ถ้าประกาศมากเกินความจําเป็น จะทําให้สิ้นเปลืองหน่วยความจําของเครื่อง ตัวอย่างการประกาศอาร์เรย์ 1 มิติ คือ

ชนิดของข้อมูล ชื่อตัวแปร[ขนาดของอาร์เรย์]

เช่น

int a[10];

ประกาศ a เป็นตัวแปรอาร์เรย์ชนิดจํานวนเต็ม ที่มีขนาด 10 ช่อง ซึ่งในแต่ละช่องจะเก็บข้อมูลเป็นจํานวนเต็ม int ขนาด 2  byte อาร์เรย์มีขนาด 10 ช่อง ดังนั้นอาร์เรย์นี้จะใช้หน่วยความจําเท่ากับ 10*2 = 20 byte ดังรูป

Image

เราสามารถกําหนดค่าเริ่มต้นให้ตัวแปรอาร์เรย์ที่สร้างขึ้นมาได้ ดังนี้

char ch[3] = { 'a', 'b' };
หรือ
char ch[] = { 'a', 'b' };

จะได้ดังนี้

Image

เราสามารถเข้าภึงตัวแปรแต่ละตัวได้โดยการกําหนด index ซึ่งจะเริ่มจาก 0 ดังตัวอย่างนี้

int a[] = {100, 400, 900};
printf("%d", a[1]);

จาก Code ด้านบนโปรแกรมจะแสดง 400 ออกมาทางหน้าจอ

สรุป

สามารถนําอาร์เรย์ ไปใช้เก็บข้อมูลที่มีลักษณะเป็นชุดๆได้ เช่นเก็บคะแนนของนักเรียนในชั้นเรียน เพื่อมาคํานวนเกรด ซึ่งเราจะสามารถเขียนโปรแกรมได้สะดวก และยืดหยุ่นมากขึ้น

Suggestion blogs

เหรียญ 20 บาท รางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ.2551

รางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ.2551ข้อมูลเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ( WIPO ) ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเฉลิมพระเกียรติและเชิดชูพระอัจฉริยภาพในการส่งเสริมเผยแพร่บทบาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาและพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ โดยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยและเป็นประโยชน์ต่อชาวโลก เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา และโครงการทำฝนหลวง ทรงเป็นนักสร้างสรรค์ นักประดิษฐ์ ผลงานของพระองค์ท่านทดลองแล้ว ได้ประโยชน์และมีผลในการปฏิบัติได้จริง มีคุณค่าในด้านทรัพย์สินทางปัญญาของโลก

เริ่มต้นใช้งาน NodeMcu ESP8266 ด้วย Arduino IDE

ในบทความที่แล้วเราได้ทําความรู้จักกับ ESP8266 กันแล้ว ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการใช้งาน ESP8266 ด้วย Arduino IDE โดยจะใช้ ภาษา c/c++ ในการเขียนโปรแกรม

Emulate Ethernet Over USB เพื่อใช้ SSH ผ่าน USB Raspberry Pi

สวัสดีครับ ปกติแล้วเมื่อต้องการจะควบคุม Raspberry Pi เราก็จะต้องเชื่อมต่อ Raspberry Pi เข้ากับ Network แล้ว SSH ไปที่ Raspberry Pi แต่วันนี้เราจะมาใช้งาน SSH ผ่าน USB โดยไม่ต้องไปเชื่อมต่อกับ Network ให้ยุ่งยากวุ่นวาย เพียงแค่เรามีสาย USB เพียงเส้นเดียวก็สามารถ SSH เพื่อควบคุม Raspberry Pi ได้


Copyright © 2019 - 2024 thiti.dev |  v1.39.0 |  Privacy policy | 

Build with ❤️ and Astro.

Github profile   Linkedin profile   Instagram   X profile   Youtube channel   Telegram   Email contact   วงแหวนเว็บ